วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560
อินเตอร์เน็ตและการสื่อสาร
พ.ร.บ.ดีอี ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาแล้ว ส่งผลซิป้า ยุบทันที พร้อมจัดตั้ง 2 สำนักงานใหม่ และเร่งตั้งกรรมการชั่วคราว ยันโครงการต่อเนื่องไม่สะดุด ส่วน พ.ร.บ.คอมพ์ หลังประกาศแล้ว ต้องออกกฎหมายลูกก่อนถึงมีผลบังคับใช้
นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี กล่าวว่า เมื่อวันที่ 24 ม.ค.2560 ที่ผ่านมา พ.ร.บ.พัฒนาดิจิทัลเศรษฐกิจและสังคม ได้ประกาศใช้แล้ว ทำให้การจัดตั้ง 2 หน่วยงานใหม่ในกระทรวงสามารถดำเนินการได้ทันที ซึ่งหน่วยงานแรก คือ สำนักงานดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า (DEPA) โดยดีป้านั้น จะต้องเร่งตั้งกรรมการชั่วคราวขึ้นมาดำเนินการก่อน หลังจากนั้น จึงจะทำการแต่งตั้งกรรมการอย่างถาวรตามขั้นตอนของกฎหมาย แต่การดำเนินงานโครงการต่างๆ ยังคงเดินหน้าต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก
ส่วน พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ก็จะถูกบังคับใช้เช่นกันหลัง 120 วันนับจากวันที่ประกาศ ซึ่งกระทรวงก็จะต้องออกกฎหมายลูก รวมถึงกฎกระทรวงต่างๆ โดยจะออกกฎหมายลูกไม่เกินระยะเวลา 120 วัน เช่นกัน และครั้งนี้จะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ โดยมองว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่ออกมานั้น ในส่วนของบทลงโทษเป็นเรื่องที่ทุกประเทศทำกันปกติ เพราะการมีกฎหมายก็เพื่อเป็นการป้องปรามให้เกิดการกระทำความผิดที่น้อยลง
ส่วน พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ก็จะถูกบังคับใช้เช่นกันหลัง 120 วันนับจากวันที่ประกาศ ซึ่งกระทรวงก็จะต้องออกกฎหมายลูก รวมถึงกฎกระทรวงต่างๆ โดยจะออกกฎหมายลูกไม่เกินระยะเวลา 120 วัน เช่นกัน และครั้งนี้จะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ โดยมองว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่ออกมานั้น ในส่วนของบทลงโทษเป็นเรื่องที่ทุกประเทศทำกันปกติ เพราะการมีกฎหมายก็เพื่อเป็นการป้องปรามให้เกิดการกระทำความผิดที่น้อยลง
โครงการพระราชกรณียกิจ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทอดพระเนตรการดำเนินงานโครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี เป็นการส่วนพระองค์
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2556 เวลา 11.51 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปยังโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นโครงการฯ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดซื้อที่ดินบริเวณอ่างเก็บน้ำหนองเสือ บ้านหนองคอไก่ ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี รวมเนื้อที่จำนวน 250 ไร่ ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ซึ่งที่ดินเกือบทั้งหมดมีสภาพเสื่อมโทรมและกันดาร เพื่อจัดเป็นโครงการตัวอย่างด้านการเกษตร และเพื่อรวบรวมพันธุ์พืชเศรษฐกิจในพื้นที่อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี และพื้นที่ใกล้เคียงมาปลูกไว้ โดยมีกองงานส่วนพระองค์ สำนักพระราชวัง ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เข้าเริ่มพัฒนาที่ดินผืนนี้เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2552
ในช่วงแรกนั้นได้ปรับปรุงสภาพพื้นที่ให้ง่ายต่อการวางแผนการเพาะปลูก จัดทำถนนทางเข้าโครงการและถนนโดยรอบบริเวณของโครงการ ขุดสระเก็บน้ำ ก่อสร้างอาคารที่ทำการ อาคารเรือนรับรอง ติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล เป็นต้น จนสามารถปรับสภาพพื้นที่ที่เสื่อมโทรม และทุรกันดาร ให้เป็นแหล่งทดลองปลูกพืชเศรษฐกิจต่าง ๆ อาทิ พืชผักสวนครัวต่าง ๆ ไม้ผล เช่น มะพร้าว ชมพู่เพชรสายรุ้ง มะนาวแป้น กล้วยนานาชนิด พืชไร่ เช่น สับปะรด ข้าวโพด นอกจากนี้ ยังมีการทำนาข้าว ยางพารา รวมทั้งปลูกยางนาด้วย สำหรับผลผลิตที่ได้ ส่งจำหน่ายผ่านร้านโกลเด้นเพลซ ภายใต้การดำเนินงานของบริษัทสุวรรณชาต จำกัด ในพระบรมราชูปถัมภ์
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2552 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปทรงเปิดป้ายโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ และทรงขับรถยนต์พระที่นั่งทอดพระเนตรการดำเนินงานภายใต้โครงการฯ ต่อมาได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ไปทอดพระเนตรกิจกรรมของโครงการฯ นี้อีกเป็นระยะ จนถึงปัจจุบัน
วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
สาระน่ารุ้
ในตำรายาจีนโบราณได้ใช้รากของหน่อไม้ฝรั่งใช้รักษาเกี่ยวกับข้ออักเสบ แลอาการของคนที่มีบุตรยากโดยทางการแพทย์แล้วในหน่อยไม่ฝรั่ง ไกลโดไซด์เตียรอยด์ที่อยู่ในรากของหน่อไม้ฝรั่งจะช่วยลดอาการอักเสบ นอกจากนั้นในหน่อยไม้ฝรั่งมีสารอาหารที่สำคัญ เช่น กรดโฟลิก วิตามินซี โพแทสเซียม เบต้าแคโรทีน ไกรโฟลิก ซึ่งสารเหล่านี้ช่วยในการป้องกันมะเร็งในที่ต่างๆ อย่างเช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ และโรคเกี่ยวกับหัวใจได้ด้วย ช่วยรักษาความดันให้ปกติ ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ต้านไวรัสบางชนิดในการทดลองพบว่าเป้ฯยาขับปัสสาวะและเป็นพืชทางเศรษฐกิจที่สำคัญด้วย เราสามารถนำมาปรุงอาหารได้หลายชนิด ทั้ง ผัด ต้น แต่การที่จะเก็บและการเลือกหน่อไม้ฝรั่งมีเทคนิคต่างๆคือ
การเลือกหน่อยไม้ฝรั่ง ควรเลือกในฤดูกาลของหน่อไม้ฝรั่งเพราะจะได้ราคาถูกและยังสดอีกด้วย ไม่ว่าคุณจะชอบที่อ่อนหรือว่ามีแก่บ้างเล็กน้อยแล้วแต่คนชอบแต่ควรเลือดสดๆ เก็บใหม่ๆ เพราะยิ่งไว้นานจะทำให้สูญเสียรสชาติและสารอาหารได้ ดูจากข้อของก้านจะพบว่าอายุของมันมากน้อยเท่าไหร่ หากแห้งเหี่ยวแสดงว่าเก็บไว้นานแล้ว ก้านที่ควรจะเลือกต้องมีความสม่ำเสมอกัน
การเก็บหน่อไม้ฝรั่ง หน่อไม้ฝรั่งสามารถที่จะเก็บไว้ได้นาน 2 – 3 วันโดยการใส่ถุงและปิดปากถุงให้สนิทไม่ให้อากาศเข้านำไปแช่ที่ตู้เย็นแต่ควรให้ก้านตรงโดยวางแนวนอนไม่ควรวางตั้งขึ้น หากต้องการเก็บไว้ได้นานกว่าให้ทำการแช่แข็งจะเก็บไว้นานขึ้น 5 – 6 วัน หากต้องการเก็บรักษาไว้นานสามารถใช้วิธีอื่นอย่างเช่นการดอง การต้มหรือว่าการลวก แต่จะทำให้รสชาติเสียไป และหากจาลวกหรือนึ่งเสร็จจะต้องเก็บไว้ในถึงแช่เย็นเช่นกัน
การลวก การที่จะลวกให้ได้รสชาติคงเดิมให้มากที่สุดสามารถทำด้วยการต้มน้ำให้เดือด แล้วนำหน่อไม้ฝรั่งลวกลงไป 2 – 5 นาทีแล้วแต่ก้านแก่หรืออ่อนหรือจะให้ซีดพอประมาณ เมื่อได้ที่แล้วให้นำไปแช่ในน้ำเย็น เมื่อเย็นแล้วไปสะเด็ดน้ำให้แห้ง สามารถนำมารับประทานกับน้ำพริกหรือว่าไปแช่เย็นจะได้เก็บไว้ได้นาน
การนึ่ง ให้ใช้ซึ้ง หรือว่าอย่างอื่นสำหรับนึ่งให้รอน้ำเดือดพอประมาณแล้วให้นำหน่อไม้ฝั่งใส่ที่ไอน้ำปิดฝารอประมาณ 3 – 6 นาที หลังจากนั้นก็นำมาแช่น้ำเย็นปล่อยให้เย็นแล้วนำไปสะเด็ดน้ำออก การลวกการนึ่งสามารถเก็บไว้ได้นานแต่จะสูญเสียคุณภาพได้
หน่อไม้ฝรั่งควรปลอกเปลือกหรือไม่ หลายคนมักจะปลอกเปลือกตามจริงแล้วควรจะคงสภาพไว้ไม่ปลอกจะดีที่สุด แต่ในบางครั้งมันแก่ก็ปลอกได้เพราะว่าจะเคี่ยวได้ง่ายแต่หากต้องการปลอกจริงควรปลอกเฉพาะโคลนของก้านหรือว่าเลือกก้านอ่อนจะได้ไม้ต้องปลอก
ทำไมหน่อไม้ฝรั่งปลายเป็นสีเขียวโคลนเป็นสีขาว ในสายพันธุ์จะเป็นสีขาวทั้งก้านส่วนบ้านเรามักจะเป็นสีเขียวโคลนสีขาว ที่สีเขียวเพราะว่ามีโคลโลฟิลที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหารให้กับต้นมันเองและทำการสะสมไว้ที่โคลนก้าน โคลนก้านเลยเป็นสีขาวเพราะไว้สำหรับสะสมอาหารอย่างเดียวไม่จำเป็นที่จะสังเคราะห์แสง
วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2560
การด์อวยพรปีใหม่.
Merry Christmas and Happy New Year. Hope the season finds you in good cheer.
ขออวยพรให้ท่านได้พบแต่สิ่งที่ดีๆ
แบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด
1. http
ตอบ http ย่อมาจาก (HyperText Transfer Protocol: HTTP) คือโพรโทคอลในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อผสม ใช้สำหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งเวิลด์ไวด์เว็บ การพัฒนา http เป็นการทำงานร่วมกัน
2.www
ตอบ WWW ย่อมาจาก Wold Wide Web คือ เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก เรามักเรียกย่อๆกันว่า เว็บ คือรูปแบบหนึ่งของระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายข่าวสาร ใช้ในการค้นหาข้อมูลข่าวสารบน Internet จากแหล่งข้อมูลหนึ่ง ไปยังแหล่ง ข้อมูลที่อยู่ห่างไกล ให้มีความง่ายต่อการใช้งานมากที่สุด WWW จะแสดงผลอยู่ในรูปแบบของเอกสารที่เรียกว่า ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hyper Text) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่รวบรวมข่าวสารข้อมูลที่อยู่กระจัดกระจายในที่ต่าง ๆ ทั่วโลกให้สามารถนำมาใช้งานได้เสมือนอยู่ในที่เดียวกัน โดยใช้เว็บเบราเซอร์ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยในการดู หรืออ่านข้อมูลเหล่านั้น เว็บเบราวเซอร์ที่นิยมใช้ เช่น IE Microsoft Internet Explorer , Firefox , google chrome เป็นต้น\
3.Search engine คืออะไร มีอะไรบ้าง
ตอบ
เมื่อกล่าวถึงคำว่า “Mobile” คนทั่วไปมักจะเข้าใจในความหมายว่า เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่ที่จริง ยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ เสริมอีก เช่น สามารถทำหน้าที่ได้เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์, เครื่องแปลภาษา, เครื่องคิดเลข หรือ เครื่องจัดการนัดหมาย/บันทึกช่วยจำ (Organizer) เป็นต้น ฯลฯ
มีคำใช้เรียกต่าง ๆ หลายคำ ซึ่งจะมีความหมายใกล้เคียงกับ Mobile เช่น Embedded Devices, PDA, Palm sized / Handheld, Smart Phone ตัวอย่างเช่น
1. Embedded Devices คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก มีการฝังตัว เป็นเหมือนสมองกลใช้ควบคุมการทำงานในเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น เครื่องปรับอากาศ, เครื่องซักผ้า, เครื่องเย็บผ้า ฯลฯ
2. PDA (Personal Digital Assistant) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กพกพาได้ง่าย มักใช้ทำงานส่วนตัวโดยทั่วไปจะใช้เรียก Palm หรือ Pocket PC
3. Palm sized / Handheld หรือ PDA เอง แต่เรียกตามขนาดเครื่อง (ที่มีขนาดเล็กประมาณพอ ๆ กับฝ่ามือ หรือถือไปไหนด้วยมือเดียวได้)
4. Smart Phone คือ โทรศัพท์มือถือ ที่มีคุณสมบัติเด่น คือ สามารถทำงานในแบบเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมี ระบบปฏิบัติการ เป็นของตัวเอง (มักเรียก OS : Operating System)
5.blogger
ตอบ สรุปง่ายๆ Blog ก็คือ Website รูปแบบหนึ่ง ที่มีการจัดเรียง “เรื่อง” หรือ post เรียงลำดับ โดยเรื่องใหม่จะอยู่บนสุด ส่วนเรื่องเก่าสุดก็จะอยู่ด้านล่างสุด
Blog อาจจะพัฒนาขึ้นมาอีกขั้นของ ไดอารี่ online ก็เป็นได้ โดย Blog จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรก็ได้ ไม่จำกัด ซึ่ง ไดอารี่ ก็ถือว่าเป็น Blog ในรูปแบบหนึ่ง
Blog ส่วนใหญมักจะเขียนโดยคนเพียงคนเดียว แต่ก็มีไม่น้อยที่เขียนเป็นกลุ่ม โดยอาจจะมีเรื่องราวเฉพาะไปที่ๆเรื่องประเภทเดียว หรือบางทีก็หลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่เรื่องราวที่เขียนขึ้นมานาน จะถูกเก็บรวบรวมเป็น Archives เก็บ ไว้ โดยมักจะแสดงผลเป็น link ในรูปแบบ วันเดือนปี เพื่อให้เราสามารถกดเข้าไปดูได้ ก็ไม่ต้องตกใจว่าที่หน้าแรกของ Blog บางทีก็มีเรื่องแสดงแค่ 10 เรื่องก็หมดแล้ว เพราะบางทีใน Archives อาจมีเรื่องอยู่ในนั้นอีกเป็นร้อยๆ โดยที่เราต้องเข้าไปดู
Blog มักจะมาคู่กับระบบ Comment ที่เปิดโอกาสให้คนอ่าน สามารถ Comment
ประวัติสถานที่เที่ยว.
หัวหิน มีเรื่องเล่าขานกันว่าราวปี พ.ศ. 2377 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พื้นที่เกษตรกรรมบางแห่งของเมืองเพชรบุรีแห้งแล้งกันดารมาก ราษฏรกลุ่มหนึ่งจึงทิ้งถิ่นย้ายลงมาทางใต้ จนมาถึงบ้านสมอเรียงซึ่งอยู่เหนือขึ้นมาจากเขาตะเกียบและบ้านหนองแกหรือบ้านหนองสะแก ที่บ้านสมอเรียงนี้มีหาดทรายชายทะเลแปลกกว่าที่อื่น
คือมีกลุ่มหินกระจัดกระจายอยู่อย่างสวยงาม ทั้งที่ดินก็มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับทำไร่ทำนาการประมง บรรพชนเหล่านี้จึงเป็นเสมือนผู้ที่ลงหลักปักเสาสร้างบ้านหัวหินขึ้น จนกลายเป็นหมู่บ้านที่เรียกกันแต่แรกว่า “ บ้านสมอเรียง ”
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ (พระองค์เจ้าชายกฤษดาภินิหาร ต้นราชสกุลกฤดากร) เป็นเจ้านายพระองค์แรกที่สร้างตำหนักหลังใหญ่ชายทะเลด้านใต้ของหมู่หิน (ปัจจุบันอยู่ติดกับโรงแรมโซฟิเทลฯ) และประทานชื่อตำหนักว่า “แสนสำราญสุขเวศน์” ปัจจุบัน คือ Baan Laksasubha ต่อมาทรงปลูกอีกหลังหนึ่งแยกเป็น แสนสำราญ และ สุขเวศน์ เพื่อไว้ใช้รับเสด็จเจ้านาย พร้อมกับทรงสร้างเรือนขนาดเล็กใต้ถุนสูงอีกหลายหลัง ซึ่งต่อๆ มาคือ “บังกะโลสุขเวศน์” ทรงขนานนามหาดทรายบริเวณตำหนักและหาดถัดๆ ไปทางใต้เสียใหม่ว่า “หัวหิน” เป็นคนละส่วนกับบ้านแหลมหินเดิม โดยมีกองหินชายทะเลเป็นที่หมายแบ่งเขต ซึ่งบ้านแหลมหินเดิมมีเขตด้านใต้ถึงเพียงแค่ต้นเกดใหญ่ชายทะเล (ปัจจุบันอยู่หน้าโรงแรมโซฟิเทลฯ มีศาลเทพารักษ์ใหญ่) เท่านั้น ไม่ถึงที่ดินของเสด็จในกรมฯ ครั้นเมื่อวันเวลาผ่านไป ชื่อ “หัวหิน” ก็แผ่คลุมทั้งหาดทั้งตำบลจนขยายเป็นอำเภอหัวหิน
ส่วนที่ดินแปลงที่อยู่ตรงหมู่หินชายทะเล เป็นของสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ซึ่งทรงสร้างตำหนักใหญ่ขึ้นถึงสองครั้ง ครั้งแรกคือตำหนักขาว ครั้งหลังคือตำหนักเทาและเรือนเล็กอีกหลายหลัง ซึ่งก็คือบ้านจักรพงษ์ในเวลาต่อมา ปัจจุบันคือโรงแรมเมเลีย ซึ่งได้เปลี่ยนผู้ดำเนินการเป็นโรงแรมฮิลตัน
ในช่วงเวลาเดียวกันกับการสร้างพระราชวังไกลกังวล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ต้นราชสกุลบุรฉัตร ก็ได้จัดสร้างตลาดฉัตร์ไชยขึ้นในที่ดินพระคลังข้างที่ โดยออกแบบให้มีหลังคารูปโค้งครึ่งวงกลมต่อเนื่องกัน 7 โค้ง เพื่อสื่อความหมายว่าเป็นการสร้างขึ้นในรัชกาลที่ 7 ทั้งตัวอาคารและแผงขายสินค้าเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ตัวตลาดโล่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก และจัดว่าเป็นตลาดที่ถูกสุขลักษณะที่สุดของประเทศไทยในขณะนั้น ชื่อตลาดฉัตร์ไชยนี้มาจากพระนามเดิมของพระองค์ คือพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากรนั่นเอง ต่อมาตลาดฉัตร์ไชยและโรงแรมรถไฟ หรือโฮเต็ลหัวหินก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของชายทะเลหัวหิน ส่วนพระราชวังไกลกังวลนั้นถือว่าเป็นสถานที่อันควรสักการะบูชา มากกว่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยว
นับตั้งแต่มีการสร้างทางรถไฟสายใต้แล้วเสร็จ เชื่อมต่อกับชายแดนของประเทศมาเลเซีย หัวหินก็มีชื่อเสียงว่าเป็นสถานที่พักตากอากาศอันลือชื่อของไทย ซึ่งนักท่องเที่ยวนิยมมาพักผ่อน ว่ายน้ำ ตกปลา และตีกอล์ฟเนื่องจากมีสนามกอล์ฟ หัวหินรอยัลกอล์ฟ ซึ่งจัดเป็นสนามกอล์ฟระดับมาตรฐานสากลแห่งแรกของประเทศไทยอีกด้วย
ชื่อเสียงของหัวหินนั้น เติบโตเคียงข้างมากับโรงแรมรถไฟก็ว่าได้ ต่อมามีการสร้างบังกะโลขึ้นคือ เซ็นทรัลหัวหินวิลเลจ ซึ่งได้ถูกคัดเลือกให้เป็นฉากถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศเรื่อง “Devil's Paradise” เช่นเดียวกับโรงแรมรถไฟหัวหิน ซึ่งใช้เป็นฉากถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศเรื่อง “The Killing Fields” โดยเป็นการจำลองสถานที่คือ โรงแรมชั้นนำในกรุงพนมเปญในยุคสงคราม
ประวัติส้มตำ.
ส้มตำ เป็นอาหารที่นำวิธีปรุงมาจากการทำตำส้ม คือการทำให้เปรี้ยว ในลาวจะเรียกว่าตำหมากหุ่ง ปรุงโดยนำมะละกอดิบที่สับแล้วฝานหรือขูดเป็นเส้นมาตำในครกเป็นหลัก พร้อมด้วยวัตถุดิบอื่นๆ คือ มะเขือเทศลูกเล็ก มะเขือสีดา มะเขือเปราะ พริกสดหรือพริกแห้ง ถั่วฝักยาว กระเทียม และปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บและน้ำปลา มะนาว อนึ่ง ส้มตำไม่ใช่อาหารดั้งเดิมของชนชาติลาวตามที่คนลาวบางส่วนเข้าใจกัน เพราะเครื่องปรุงหลายอย่าง ทั้งมะละกอ พริก ได้รับมาจากต่างประเทศโดยทางเรือในสมัยโบราณ ส่วนน้ำปลาต้องใช้ปลาทะเลในการทำ และคำเรียกส้มตำในลาวคือตำหมากหุ่งส่วนในไทยเรียกส้มตำ
ส่วนผสม[แก้]
ส่วนผสมและเครื่องปรุงต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ส้มตำมีรสเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว ไทยภาคอีสานนิยมส้มตำรสเผ็ดเค็ม ส่วนไทยภาคกลางนิยมรสเปรี้ยวหวาน นิยมรับประทานกับข้าวเหนียวและไก่ย่าง บางครั้งรับประทานกับขนมจีน เส้นเล็กลวก เส้นหมี่ และแคบหมู โดยมีผักสดเป็นเครื่องเคียง เช่น กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง ตลอดจนผักดอง (ส้มผัก) ผักกาดขาว ผักชีฝรั่ง (หอมเป) ถั่วงอก ทูน ใบชะพลู (ผักอีเลิศ) เป็นต้น นอกจากนี้ ร้านส้มตำส่วนใหญ่มักขายอาหารอีสานอื่นด้วย เช่น ซุบหน่อไม้ อ่อม ลาบ ก้อย แจ่ว ปลาแดกบอง น้ำตก ซกเล็ก ตับหวาน ไก่ย่าง คอหมูย่าง พวงนม กุ้งเต้น (ก้อยกุ้ง) ข้าวเหนียว เป็นต้น
อาหารในราชสำนักลาว[แก้]
ในวรรณคดีนิราศวังบางยี่ขันของคุณพุ่ม ซึ่งบรรยายเรื่องราวการตามเสด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงนารีรัตนา พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) กับเจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงดวงคำ (หนูมั่น) พระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ พระมหากษัตริย์แห่งนครเวียงจันทน์ เสด็จไปเยี่ยมพระญาติชั้นผู้ใหญ่ คือ เจ้าจันทรเทพสุริยวงศ์ ดำรงรัฐสีมา มุกดาหาราธิบดี (หนู) หรือ เจ้าจันทรประทีป (ต้นสกุล จันทนากร) เจ้าผู้ครองเมืองมุกดาหารประเทศราช เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๑๒ ณ วังบางยี่ขัน ซึ่งเคยเป็นสถานที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์มาก่อน วรรณคดีเรื่องนี้ได้กล่าวถึงส้มตำว่า เป็นอาหารในราชสำนักลาวเวียงจันทน์ที่พระบรมวงศานุวงศ์ลาวทรงนำขึ้นโต๊ะเสวย พร้อมทั้งบรรยายถึงอาหารชนิดอื่นในวังบางยี่ขันด้วย ดังความว่า
...แล้วมานั่งยังน่าพลับพลาพร้อม พี่น้องล้อมเรียงกันสิ้นเลยกินเข้า หมี่หมูแนมแถมส้มตำทำไม่เบา เครื่องเกาเหลาหูฉลามชามโตโต ที่มาเฝ้าเจ้าน้ามุกดาหาร พาสำราญรายรักขึ้นอักโข ยังวิโยคอยู่ด้วยโรคโรโค ดูโศกโซเศร้าซูบเสียรูปทรง ยังป่วยไข้ไม่คลายเหือดหายหิว ดูเผือดผิวผอมผิดด้วยพิษสง หาหมอมาว่าเปนฝีทวีพะวง บ้างก็ลงว่าเปนกล่อนอ่อนระอา พอบ่ายร่มลมเชยรำเพยพัด คุณจีดจัดเรือข้ามตามไปหา นำเอาผู้ที่จะกู้ซึ่งเงินตรา เปนนายหน้าจัดทำของกำนัน กล้วยขนมส้มไข่ของหลายอย่าง ผลมะปรางแตงไทไปให้ฉัน เปนข้าไทใส่สารกรมธรรม์ ก็ให้ปันเงินกู้จะดูใจ...[ต้องการอ้างอิง]
ชื่อในภาษาลาวและส่วนผสมของลาว[แก้]
ในภาษาลาวเรียกส้มตำว่า ตำหมากหุ่ง (หมากหุ่งหมายถึงมะละกอ) หรือตำบักหุ่ง บางครั้งเรียกว่า ตำส้ม คำว่า ส้ม ในภาษาลาวแปลว่า เปรี้ยว คำว่า ส้มตำ จึงเป็นคำในภาษาลาวที่ถูกนำมาเรียกโดยคนไทย ส่วนคำว่า ส้มตำ นั้น สันนิษฐานว่าเป็นภาษาลาวที่คนไทยนำมาเรียกสลับกันกับคำว่า ตำส้ม เครื่องปรุงทั่วไปของส้มตำลาวประกอบด้วยมะละกอสับเป็นเส้น เกลือ แป้งนัวหรือผงนัว (ผงชูรส)(ซึ่งลาวไม่สามารถผลิตผงชูรสเองได้ต้องนำเข้าจากไทยไปใช้) หมากเผ็ด (พริก) กระเทียม น้ำตาล น้ำปลา น้ำปลาแดกหรือน้ำปลาร้า หมากนาว (มะนาว) หมากถั่ว (ถั่วฝักยาว) และอื่น ๆ บางแห่งยังพบว่านิยมใส่เม็ดกระถินและใช้กะปิแทนปาแดกด้วย บางแห่งยังพบว่ามีการใส่ปูดิบที่ยังไม่ตาย และใส่น้ำปูลงไปด้วย ชาวลาวถือว่าการทำส้มตำแบบโบราณที่โรยถั่วลิสงคั่วลงไปด้วยหรือทำรสให้หวานนำถือว่า "ขะลำสูตร" หรือผิดสูตรดั้งเดิม และผู้ตำมักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไร้ฝีมือ[ต้องการอ้างอิง]
ข้อสันนิษฐานเรื่องที่มาของไทย[แก้]
ส่วนผสมในเอกสารของไทย[แก้]
ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่ามีการนำมะละกอดิบมาปรุงเป็นส้มตำเป็นครั้งแรกเมื่อใด อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงที่มาของส่วนประกอบต่าง ๆ ของส้มตำ อาจได้ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการสันนิษฐานถึงที่มาของส้มตำได้ มะละกอเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง ชาวสเปนและโปรตุเกสนำมาปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคต้นกรุงศรีอยุธยา ในขณะที่ชาวฮอลันดาอาจนำพริกเข้ามาเผยแพร่ในเวลาต่อมา ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีทูตชาวฝรั่งเศสผู้มาเยือนกรุงศรีอยุธยา คือ นีกอลา แฌร์แวซ (Nicolas Gervaise) และซีมง เดอ ลา ลูแบร์ พรรณนาว่าในเวลานั้นมะละกอได้กลายเป็นพืชพื้นเมืองชนิดหนึ่งของสยามไปแล้ว[1] และได้กล่าวถึงกระเทียม มะนาว มะม่วง กุ้งแห้ง ปลาร้า ปลากรอบ กล้วย น้ำตาล แตงกวา พริกไทย ถั่วชนิดต่าง ๆ ที่ล้วนสามารถใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับปรุงส้มตำได้ ขณะเดียวกันได้เขียนว่า ในขณะนั้นสยามไม่มีกะหล่ำปลี และชาวสยามนิยมบริโภคข้าวสวย แต่ไม่มีการกล่าวถึงมะเขือเทศและพริกสด
ตำราอาหารและร้านไก่ย่าง ส้มตำ[แก้]
ตำราอาหาร แม่ครัวหัวป่าก์ ของ ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ (ในสมัยรัชกาลที่ 5) ไม่ปรากฏว่ามีสูตรอาหารที่ชื่อว่าส้มตำเลย แต่มีอาหารที่คล้ายส้มตำ โดยใช้มะขามเป็นส่วนผสมหลักในชื่อว่า ปูตำ ส่วนในตำราอาหารเก่า ๆ อย่าง ตำหรับเยาวภา ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท มีอาหารที่เรียกว่า ข้าวมันส้มตำ โดยมีส่วนประกอบสำคัญคือข้าวมันหุงด้วยกะทิ และส้มตำซึ่งใช้มะละกอเป็นหลักแต่มีส่วนผสมที่มากกว่าสูตรของคนอีสานคือมีกุ้งแห้งกับถั่วลิสงป่น และปรุงรสชาติแบบนุ่มนวลไม่จัดจ้าน ค่อนข้างไปทางหวานนำ
สำหรับร้านไก่ย่าง ส้มตำ ร้านเก่าแก่ที่มีบันทึก คือ ร้านไก่ย่าง ส้มตำข้างสนามมวยราชดำเนิน ชื่อร้านไก่ย่างผ่องแสง เจ้าของร้านชื่อด้วงทอง ซึ่งสนามมวยราชดำเนินสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2488 ในระยะนั้นชาวอีสานจำนวนมากเข้าสู่กรุงเทพฯ (ราว พ.ศ. 2490) โดยเข้ามาพักอาศัยอยู่ริมสนามมวยราชดำเนินทำนองเพิงชั่วคราวและได้กลายเป็นแหล่งชุมนุมใหญ่ของอาหารอีสาน[2]
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)